...ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ละครไทย...

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติละครไทย

                                                      
       สมัยน่านเจ้า การศึกษาเรื่องการละคร และนาฏศิลป์ไทยในสมัยนี้ พบว่า ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่ง คือ เรื่อง "มโนห์รา" ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ในอาณาจักรน่านเจ้าเดิมนั่นเอง นิยายเรื่องนั้น คือ "นามาโนห์รา (Namanora) เป็นนิยายของพวกไต พวกไตคือไทยเรานี่เอง  แต่เป็นพวกที่ไม่อพยพลงมาจากดินแดนเดิม เรื่องนามาโนห์รานี้จะนำมาเล่นเป็นละครหรือไม่นั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฏเด่นชัด ส่วนการละเล่นของไทยน่านเจ้านั้นมีพวกระบำอยู่แล้ว คือ ระบำหมวก และระบำนกยูง
       สมัยสุโขทัย สมัยนี้ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการละครนัก เป็นสมัยที่เริ่มมีความสัมพันธ์กับชาติที่นิยมอารยธรรมของอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม และละว้า ไทยได้รู้จักเลือกเฟ้นศิลปวัฒนธรรม ที่ดีของชาติที่สมาคมด้วย แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ชาติไทยแต่โบราณจะไม่รู้จักการละครฟ้อนรำมาก่อน เรามีการแสดงประเภทระบำรำเต้นมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว เมื่อไทยได้รับวัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้า ศิลปะแห่งการละเล่นพื้นเมืองของไทย คือ รำ และระบำ ก็ได้วิวัฒนาการขึ้น มีการกำหนดแบบแผนแห่งศิลปะการแสดงทั้ง 3 ชนิดไว้เป็นที่แน่นอน และบัญญัติคำเรียกศิลปะแห่งการแสดงดังกล่าวแล้วขั้นต้นว่า "โขน ละคร ฟ้อนรำ" ส่วนเรื่องละคร แก้บนกับละครยก อาจมีสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยนั้นแล้วเช่นกัน
       สมัยกรุงศรีอยุธยา  ละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลป์ขึ้น มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน โขน การแสดงบางอย่างก็รับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมได้ ละครไทยเริ่มจัดระเบียบแบบแผนให้รัดกุมยิ่งขึ้น มีการตั้งชื่อละครที่เคยเล่นกันอยู่ให้เป็นไปตามหลักวิชานาฏศิลป์ขึ้น มีการแสดงเกิดขึ้นในสมัยนี้หลายอย่าง เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน โขน การแสดงบางอย่างก็รับวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน และวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมได้
      สมัยกรุงธนบุรี สมัยนี้เป็นช่วงต่อเนื่องหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 เหล่าศิลปินได้กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ เพราะผลจากสงคราม บางส่วนก็เสียชีวิต บางส่วนก็ถูกกวาดต้อนไปอยู่พม่า ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ปราบดาภิเษกในปีชวด พ.ศ. 2311 แล้ว ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการละครขึ้นใหม่ และรวบรวมศิลปินตลอดทั้งบทละครเก่าๆที่กระจัดกระจายไปให้เข้ามาอยู่รวมกัน ตลอดทั้งพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอีก 5 ตอน คือ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลด (เผารูปเทวดา) ตอนพระลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท ตอนปล่อยม้าอุปการ มีคณะละครหลวง และเอกชนเกิดขึ้นหลายโรง เช่น ละครหลวงวิชิตณรงค์ ละครไทยหมื่นเสนาะภูบาล หมื่นโวหารภิรมย์ นอกจากละครไทยแล้วยังมีละครเขมรของหลวงพิพิธวาทีอีกด้วย
         สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่ การละครต่างๆ ล้วนได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับตั้งแต่

 

ประเภทของละครรำ


        ละครโนราชาตรี   ละครโนราเป็นละครที่เก่าแก่ที่สุด เป็นละครของชาวภาคใต้ ในสมัยโบราณผู้แสดงมีเพียง 3 คน เป็นผู้ชายล้วน แต่งตัวงามพิเศษอยู่แต่ตัวเอกซึ่งเป็นตัวพระ ตัวนาง  และตัวตลก เป็นละครที่มุ่งหมายตลกขบขัน และการดำเนินเรื่องรวดเร็ว การแสดงเริ่มต้นด้วยไหว้ครู แล้วรำซัด แล้วจึงจับเรื่อง ผู้แสดงร้องเองบ้าง มีต้นเสียงร้องให้บ้าง นักดนตรีก็ร้องเป็นลูกคู่ด้วย ละครแบบนี้ชาวภาคกลางเรียกว่า ละครชาตรี การที่เรียกว่าโนราก็เพราะตามประวัติว่าครั้งแรกแสดงแต่เรื่องนางมโนห์รา จึงเรียกว่ามโนห์รา
ละครในราชาตรี
        ละครนอก  วิวัฒนาการมาจากมโนราห์ เพราะมีความมุ่งหมายเช่นเดียวกันคือ ดำเนินเรื่องรวดเร็ว และตลกขบขัน สมัยโบราณผู้แสดงผู้ชายล้วน เพิ่งมีผู้หญิงแสดงในปลายสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการห้ามมิให้บุคคลทั่วไปมีละครผู้หญิง ในตอนหลังผู้แสดงเป็นผู้หญิงโดยมาก ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นเครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ การแต่งกาย เลียนแบบเครื่องต้นของกษัตริย์ ารรำเป็นแบบแคล่วคล่องว่องไวพริ้งเพรา จังหวะของการร้องและการบรรเลงดนตรีค่อนข้างเร็ว เวลาเล่นตลกมักเล่นนานๆ ไม่คำนึงถึงการดำเนินเรื่อง และไม่ถือขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องที่นิยมแสดงได้แก่ เรื่องแก้วหน้าม้า ลักษณวงศ์ และจันทโครพ บทที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย ไชยเชษฐ์ คาวี มณีพิชัย และไกรทอง

ละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์ 

        ละครใน  ละครในเป็นละครที่เกิดขึ้นในพระราชฐานจึงเป็นละครที่มีระเบียบแบบแผน สุภาพ ละครในมีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ รักษาศิลปะของการรำอันสวยงาม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเคร่งครัด รักษาความสุภาพทั้งบทร้องและเจรจา เพราะฉะนั้น เพลงร้อง เพลงดนตรี จึงต้องดำเนินจังหวะค่อนข้างช้า เพื่อให้รำได้อ่อนช้อยสวยงาม ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นวงเครื่องห้า เครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ ก็ได้โรงมีลักษณะเดียวกับโรงละครนอก แต่มักเรียบร้อยสวยงามกว่าละครนอก เพราะใช้วัสดุที่มีค่ากว่า เนื่องจากมักจะเป็นละครของเจ้านาย หรือผู้ดีมีฐานะ เครื่องแต่งกาย แบบเดียวกับละครนอก แต่ถ้าแสดงเรื่องอิเหนา ตัวพระบางตัวจะสวมศีรษะด้วยปันจุเหร็จในบางตอน (ปันจุเหร็จในสมัยปัจจุบัน มักนำไปใช้ในการแสดงเรื่องอื่นๆด้วย) การแสดง มีคนบอกบท ต้นเสียง ลูกคู่ การร่ายรำสวยงามตามแบบแผน เนื่องจากรักษาขนบประเพณีเคร่งครัด การเล่นตลกจึงเกือบจะไม่มีเลย บทที่แต่งใช้ถ้อยคำสุภาพ คำตลาดจะมีบ้างก็ในตอนที่กล่าวถึงพลเมือง ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน ตัวประกอบอาจเป็นผู้ชายบ้าง เรื่องที่ใช้แสดงละครใน แต่โบราณมีเพียง 3 เรื่อง คือ เรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา และอุณรุท
ละครคในเรื่องอิเหนา
        ละครพันทาง  ละครพันทางเป็นละครแบบผสม ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงปรับปรุงการแสดงขึ้น มีลักษณะดังต่อไปนี้ ละครพันทางเป็นละครที่แสดงบนเวทีเปลี่ยนฉากตามเนื้อเรื่อง เรื่องตอนนั้นเป็นสถานที่ใด สวน ท้องพระโรง ห้องนอน หรือที่ใด ก็เขียนและจัดให้เป็นสถานที่นั้นท่ารำเป็นแบบผสม ละครแบบนี้มักจะแสดงเป็นเรื่องของต่างภาษา เช่น พม่า ลาว แขก จีน ท่ารำก็เป็นท่ารำของชาตินั้นๆ ผสมกับท่ารำของไทย เพลงร้อง เพลงดนตรีก็ผสมตามภาษานั้นๆอาจเป็นเพลงภาษานั้นแท้ๆ หรือที่ไทยแต่งให้เป็นสำเนียงภาษานั้นๆ และอาจมีเพลงไทยแท้ๆผสมด้วยก็ได้ เครื่องแต่งตัว เป็นไปตามภาของเรื่องที่แสดงนั้น เช่น พม่าก็แต่งเป็นพม่า ลาวก็แต่งเป็นลาว และจีนก็แต่งเป็นจีนดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมการแสดง มีทั้งต้นเสียง ลูกคู่ เป็นผู้ร้อง บางตอนตัวละครก็ร้องเอง การรำก็ผสมดังกล่าวแล้ว แต่ถ้าเรื่องแสดงเป็นไทยล้วน ไม่มีภาษาอื่นเลย ก็ใช้ท่ารำไทยผสมกับท่ารำสามัญชน คือท่ารำของคนเรานี้ผสมกับท่ารำ เมื่อแสดงจบเนื้อเรื่องของฉากหนึ่งแล้ว ก็ปิดม่าน แล้วเปิดม่านแสดงฉากต่อไปทีละฉากจนจบเรื่องผู้แสดง มิได้กำหนดว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง แล้วแต่สะดวกเรื่องที่แสดง มักนิยมแสดงเรืองต่างภาษา เช่นเรื่องราชาธิราช พระลอ และสามก๊ก เรื่องที่เป็นไทยก็มีจำพวกเรื่องพระราชพงศาวดารบางตอน เช่น วีรสตรีถลาง คุณหญิงโม ดูละครย้อนหลัง
ละครพันทาง
        ละครดึกดำบรรพ์  ละครดึกดำบรรพ์เป็นละครที่นำแบบโอเปร่ามาใช้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เป็นผู้ทรงปรับปรุงขึ้น เพื่อให้คณะละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) แสดง ละครดึกดำบรรพ์ มีลักษณะดังต่อไปนี้  การแสดงแสดงบนเวที เปลี่ยนฉากตามเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับละครพันทาง  ท่ารำ ใช้ท่ารำตามแบบแผน แต่ตัดทอนเพิ่มเติมและดัดแปลงให้พอเหมาะกับเพลงร้องและเพลงดนตรี  เพลงร้องและเพลงดนตรี ใช้เพลงไทยของเก่า แต่แก้ไขเปลี่ยนแปลงบางเพลงให้สั้นยาวพอเหมาะกับการแสดง กับมีเพลงที่พลิกแพลงให้แปลกและไพเราะยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการแต่งเพิ่มเติมขึ้นใหม่อีกด้วย  การแสดง ผู้แสดงเป็นผู้ร้องในบทของตนเอง เพราะบทร้องเป็นบทคำพูดของตัวละครไม่มีบทบอกชื่อ บอกกิริยา หรือบอกอารมณ์ของตัวละคร รวมความว่าตัวละครทุกตัวพูดเป็นเพลง  ดนตรี เป็นวงปี่พาทย์ที่ปรับปรุงขึ้นเป็นพิเศษ มีแต่เครื่องดนตรีที่เสียงทุ้มนุ่มนวล ไม่มีพวกเสียงดังเสียงสูง เสียงเล็กแหลมเลย คือไม่มีกลองทัด ปี่ใน ฆ้องวงเล็ก และระนาดเอกเหล็ก ส่วนระนาดเอกก็ตีด้วยไม้นวม เพื่อให้เสียงนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว มีสิ่งแปลกกว่าวงปี่พาทย์อื่นๆก็คือ กลองตะโพน ซึ่งใช้ตะโพน 2 ลูก เอาเท้าที่ตั้งออกให้เหลือแต่ตัวตะโพน แล้วตั้งหน้าด้านใหญ่ขึ้น ติดข้าวสุกให้เสียงต่ำตีแทนกลองทัด ฆ้องชัย (หรือฆ้องหุ่ย) มี 7 ลูก เทียบเสียงเรียงลำดับกันเป็น 7 เสียง ตีห่างๆ อนุโลมอย่างเบสส์ของฝรั่ง
เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ปรับปรุงจากบทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 โดยมาก เช่น คาวี สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย มณีพิชัย และอิเหนา ที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้แก่ เรื่องศกุลตลา พระเกียรติรถ และท้าวแสนปม และพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณอินทราชัย ได้แก่เรื่องพระยศเกตุ จันทกินรี และสองกรวรวิก

ละครดึกดำบรรพ์